เรียนไม่เก่ง
Problem :• ดิ้นรนไขว่คว้าปริญญา โดยมองข้ามความถูกต้อง ไม่เลือกวิธีปฏิบัติSolution :• ส่งเสริมค่านิยมใหม่ด้านการศึกษา เน้นจริยธรรม คุณธรรม คุณภาพ เหนือปริญญาบัตร• หยุดค่านิยม “รักเด็กเก่ง-ชังเด็กไม่เก่ง”
เมื่อคุยถึงเรื่องการศึกษาของเด็กกับผู้คนจากหลากหลายอาชีพ / หน่วยงาน / ฐานะ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ “เรื่องทัศนคติที่แบ่งแยกคุณค่าของคนจากการเรียนของเด็ก”
แล้วคนในสังคมให้ “คุณค่า” อย่างไร?
โดยส่วนใหญ่การให้ “คุณค่าของคน” เริ่มตั้งแต่การรับเด็กเข้าโรงเรียนในช่วงเริ่มต้นของชีวิต ที่แยกเด็กเก่ง / ไม่เก่ง และตอกย้ำว่า“ฉลาด” หรือ “โง่” จากการวัดผลสอบซึ่งส่งผลไปถึง “อนาคตของเด็ก” ที่ขึ้นอยู่กับใบปริญญา
แล้วนำไปสู่อะไร? อย่าคิดว่าก็แค่ทัศนคติ ในเมื่อสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากทัศนคติมีตามมาเป็นพรวน….
สำหรับเด็ก หลังจากจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ม.3 ก็ต้องตะเกียกตะกายเรียน ม.4-ม.6 แม้ตัวเองไม่ถนัดก็ตาม เพราะเสมือนหนึ่งว่า “เก่งกว่า” เด็กที่เรียนสายอาชีพ แล้วก็ต้องเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย จะด้วยวิธีการใดก็ได้ โกงข้อสอบ / ซื้อข้อสอบ…บางครั้งถึงขนาดใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้ลูก / หลานตนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังๆ และต้องจบแต่ไม่สามารถทำได้ ก็เลือกใช้วิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลอกข้อสอบ จ้างทำวิทยานิพนธ์ ต่อรองกับอาจารย์ด้วยวิธีการสารพัดเพื่อได้ได้ชื่อว่าจบ“ปริญญา” และได้งานที่เงินเดือนถูกกำหนดด้วยระดับของปริญญา (แม้จะทำงานไม่เป็นก็ตาม)
สำหรับโรงเรียน ก็อยากจะได้แต่เด็กเก่งๆ ไว้เชิดหน้าชูตา ส่งแข่งขัน ส่งประกวด ถ้าเด็กเข้ามหาวิทยาลัยได้ก็จะได้ใช้เด็กโฆษณาโรงเรียน โรงเรียนจึงสนใจแต่เด็กเก่ง เพราะไม่ต้องลงแรงเยอะ สนใจแต่เด็กรวยเพราะไว้ขอเงิน สำหรับเด็กที่ไม่เก่งและไม่รวยแต่ได้โอกาสเข้าเรียน “ก็จะได้รับการฝึกฝน / โอกาสน้อยกว่าเด็กที่อยู่ในห้องเด็กเก่ง” กลายเป็นเหมือน“กาฝาก” ในโรงเรียน สิ่งนี้น่าสลดเพราะเป็นการตอกย้ำในการลด “คุณค่า” ของตนเอง
สำหรับครอบครัว ก็ต้องหาเงิน เด็กมีหน้าที่เพียงแค่เรียนหนังสือและติว แทบไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะต้องสอบเพื่อนำคะแนนมาต่อยอด “อนาคตของพวกเขา” เรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่ควรต้องได้รับการฝึกฝนก็จะถูกละเลยไป
ที่แย่คือ มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เรียนไม่จบ เพราะเรียนตาม “ค่านิยม” ที่สังคมกำหนด หรือ เรียนจบมาก็ไม่ได้ใช้ความรู้ในดำเนินชีวิตจริง ทำให้เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินทอง เช่น เรียนแพทย์มาก็ไปเป็นนักร้อง เรียนวิศวะมาตัดผม..เล่นหุ้น เรียนนิติศาสตร์มาเป็นพนักงานขาย ฯลฯ
เรากำลังปลูกฝังค่านิคมอะไรในสังคมนี้?
ค่านิยมที่ “ไม่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น”เพียงเพราะต้องสร้าง “คุณค่าจอมปลอม” ที่สังคมยอมรับ สร้างให้เป็นคน “ฉาบฉวย”เพราะเห็นแค่ “กระพี้” ของเปลือกที่ฉาบไว้ หลงวนอยู่กับสิ่งประดับภายนอกเพราะคิดว่าจะได้รับการยอมรับ ด้วยใบปริญญาที่ไม่มีความรู้ ใช้ “เงิน” ทำทุกอย่าง ตั้งแต่ฝากเรียน ฝากเข้าทำงาน ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อทำผิดให้เป็นถูก
เราทุกคนคงเห็นได้ว่าลักษณะที่ “ไม่ซื่อสัตย์”และ “ฉาบฉวย” นั้นยากที่จะมีความเจริญก้าวหน้าหรือความสงบในชีวิต และอาจจะทำให้ชาติล่มจมหากจับพลัดจับผลูได้เป็นใหญ่เป็นโต
ปัญหานี้แก้ไม่ยากแค่เปลี่ยนทัศนคติ… “การศึกษา เปลี่ยนได้ด้วยความคิดของเราทุกคน”
สิ่งที่ได้รับจากบทความนี้ คือ "คุณค่าของคน" คนเก่งและรวยเขาจะได้เปรียบกว่าคนไม่เก่งและไม่รวย เพราะคนเก่งใช้เงินในการเข้าเรียนเข้าสอบและเข้าทำงานและส่วนคนไม่เก่งจะได้รับการฝึกฝนทำให้ได้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างทำได้ด้วยตนเองและมีเด็กที่เรียนไม่จบเพราะเรียนตามค่านิยมที่สังคมกำหนดหรือเรียนจบมาก็ไม่ได้ช่วยไร ทำให้เสียทั้งเวลา และ เสียทั้งเงินทอง
ความคิดเห็นของผู้เขียน :
ปัญหานี้แก้ไม่ยากแค่เปลี่ยนทัศนคติ...การศึกษาเปลี่ยนได้ด้วยความคิดของทุกคน
สาเหตุที่เลือกบทความนี้ :
เพราะอยากรู้ถึงการเรียนของคนเก่งกับคนไม่เก่งเป็นยังไง
ประโยชน์ที่ได้รับจากบทความนี้ :
ได้รู้ว่าการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นนั้นยากที่จะมีความเจริญก้าวหน้าหรือความสงบในชีวิตและอาจจะทำให้ชาติล่มจมหากจับพลัดจับผลูได้เป็นใหญ่เป็นโต
สรุปบทความโดย
นางสาวไรดานีย๊ะ สาหลำ
รหัสนิสิต611031542
คณะศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น